วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 20  เมษายน พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ
   
  วันนี้การเรียนการสอนอาจารย์นัดเรียนด้วยกัน 2 กลุ่ม และอาจารย์ให้นักศึกษาสรุปกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย โดยออกแบบแผนผังความคิดหรือออกแบบที่สามารถให้ตนเองเข้าใจในสิ่งที่เขียน


ความสำคัญของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์
มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบมีแบบแผนตลอดจนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบช่วยให้คาดการณ์วางแผนแก้ ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม   
       เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวคณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบ ตัวการที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสําเร็จในการเรียยนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

         มาตรฐานการเรียนรู้   จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
     มาตรฐาน ค.ป .1. 1: เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระที่ 2: การวัด
    มาตรฐาน ค.ป . 2. 1: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3: เรขาคณิต  
    มาตรฐาน ค.ป.  3. 1: รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง 
    มาตรฐาน ค.ป . 3. 2: รู้จักรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัด                                               กระทำ
สาระที่ 4: พีชคณิต
     มาตรฐาน ค.ป . 4. 1: เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   มาตรฐาน ค.ป .ป  5. 1: รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ

สาระที่6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
        การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีควรจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้สึก  เข้าใจมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก ๆ สามารถดำเนินการตามแนวทางและแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
      1. สร้างเสริมความสนใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามธรรมชาติของเด็กและ  การสร้างความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน 
      2. สร้างประสบการณ์และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์โดยเชื่อมโยงจากพื้นฐานทา  ครอบครัวภาษาวัฒนธรรมและชุมชนโดยเน้นการจัดกลุ่มรายย่อยและในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการผ่านการเล่นการสำรวจและการลงมือปฏิบัติจริง 
       3. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการ  ด้านจิตใจอารมณ์และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน 
        4. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์เร่งปฏิกิริยาแก้ปัญหาและการให้เหตุผลรวมทั้ง  การสื่อสารเชื่อมโยงแนวความคิดที่หลากหลายทางคณิตศาสตร์และการคิดสร้างสรรค์ 
        5. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ต้องเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอย่างเป็นทางการ  เตรียมความพร้อมก่อนที่จะเรียนรู้ในขั้นตอนสุดท้ายที่ยากขึ้นไป 
        6. เตรียมความพร้อมให้เด็กได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างลึก แน่นในแนวคิดหลักการและสาระ สำคัญทางคณิตศาสตร์ 
         7. บูรณาการคณิตศาสตร์กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆและสอดแทรกกิจกรรมต่างๆในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวัดและประเมินผล
 
 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ถึง 5 ปีเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ผลเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดขึ้นให้เด็กในแต่ละวันผลการประเมินจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กนำไปวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กแต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามมาตรฐานการเรียนรู้มากกว่าการตัดสินว่าผ่านหรือพร้อม

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควรยึดหลัก
 
      1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอนการเรียนการสอน
      2. การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การศึกษาความรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
      3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับการวัดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
      4. การวัดและประเมิน  ผลต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็กรอบด้านโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายเช่นการสังเกตการสนทนาการบันทึกพฤติกรรม
      5. การวัดและประเมินผลต้องเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์

      จากการที่ได้ศึกษากรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย ทำให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ในแต่ละสาระ เข้าใจทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเด็กเป็นเส้นทางที่ครูจะปูพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ในแต่ละด้านๆเพื่อที่จะเขาโตออกมาเรียนรู้และปรับตัวกับสิ่งต่างๆ





                                                         
  ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

คำศัพท์

1.Geometry     เรขาคณิต

2. Algebra  พีชคณิต

3.Skills   ทักษะ

4.Relationship ความสัมพันธ์

5.Number    จำนวน

6.Evaluation  ประเมินผล

7.Operation  การทำงาน

8.Investigate  ตรวจสอบ

9.Direct   กำกับ

10.Information  ข้อมูลสารสนเทศ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :  ตนเองได้รู้จักการวางแผนในการทำงานมากขึ้น  และเข้าใจกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัยมากขึ้นในแต่ละสาระว่ามีส่วนประกอบ อะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในการทำงานของตนเอง               

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเต็มที่ในการทำงานและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น