วันจันทร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 3

วันศุกร์ที่ 25   เดือนมกราคม  2562

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาทำสื่อคณิตศาสตร์ และมีอุปกรณ์ในการทำสื่อดังนี้

กิจกรรมที่ 1

1.กระดาษขาว เทาแบบแข็ง

2. มีดคัตเตอร์

3.กรรไกร

4.ดินสอ ยางลบ

5.ไม้บรรทัด

6.แผ่นรองตัด

          อาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำอย่างละเอียดและตามลำดับขั้นตอน ค่อยอธิบายให้นักศึกษาเข้าใจและทำไปพร้อมๆกัน

     ขั้นตอนในการทำสื่อ

1.นำกระดาษขาว เทาแบบแข็งแผ่นใหญ่มาแบ่งครึ่ง  และจะได้เป็น 4 แผ่นใหญ่ๆเท่าๆัน

2.นำมาวัดและตัด ขีดช่องแนวนอน 10 ช่อง  ประมาณ 2 นิ้วและตัดออกจะได้เป็นทั้งหมด  2 ชุด

3. จากนั้นนำกระดาษที่เหลือมาตัดออก เพื่อที่ทำในชิ้นส่วนต่อไป  ในการทำตัวเลข ใช้ปากกาขีดเส้นแต่ละช่อง ทำทั้งหมด 2 ชุด  และตัดกระดาษ เป็นชิ้นเล็กในการเขียนตัวเลข 0-9 หน่วย สิบ เพื่อให้เด็กได้รู้จักตัวเลข 






4. เมื่อตัดและทำเรียบร้อยแล้ว มาวางไว้ที่ช่อง สิบ หน่วย ที่ได้ทำตามที่อาจารย์สอน

 กิจกรรมที่ 2

            อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม เป็น 2 กลุ่ม อย่างละเท่าๆ กัน ให้นักศึกษาปั้นดินน้ำมัน เป็นผลไม้อะไรก็ได้  เป็นผลเล็กๆเพื่อที่จะให้วางบนกระดาษได้  หลังจากที่นักศึกษาปั้นเสร็จ และอาจารย์ให้หยิบสื่อที่ได้ทำ ตั้งไว้กลางกลุ่ม และให้นักศึกษาแต่ละคนวางผลไม้ที่ได้ทำ วางไว้บนสื่อ จนหมดสมาชิกในกลุ่ม และอาจารย์ให้นักศึกษานับ และสอนการเรียกที่ถูกต้อง  และอาจารย์ให้นับตัวเลขตัวสุดท้ายเป็นจำนวน หลังจากนั้นเก็บตัวเลขแล้วแบ่งผลไม้เป็น 2 กลุ่ม โดยใช้เกณฑ์ เช่น รูปร่าง รูปทรง





ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน
       

      จากสิ่งที่ได้เรียนรู้ เด็กจะใช้ประสบการณ์ในการเรียนรู้จากสิ่งที่เด็กเห็นและเป็นรูปธรรม และการแบ่งแต่ละครั้งเราต้องมีเกณฑ์ในการแบ่ง เพื่อให้เด็กได้เล่นและเรียนรู้ เด็กก็จะเรียนรู้และเข้าใจในการนับจำนวนที่ถูกต้อง และทำให้รู้ว่าการที่จะทำสื่อ เราต้องวางแผนในการทำเพราะจะทำให้สามารถทำชิ้นงานที่ตามที่วางเป้าหมายได้ 

คำศัพท์

1 .Ruler     ไม้บรรทัด

2.  Paper  กระดาษ

3.  Pencil   ดินสอ

4. Circle  วงกลม

5.Arithmetic เลขคณิต

6. To calculate คำนวณ

7. Width ความกว้าง

8. Addition การบวก

9. Subtraction การลบ

10. Total ทั้งหมด

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : การวางแผนการทำงานของตนเองยังไม่ค่อยดี แต่ตนเองพยายามค่อยๆทำ

ประเมินเพื่อน     :  ทุกคนตั้งใจในการการวัดการตัด และสนุกในการทำสื่อ  อาจจะคุยกันบ้าง แต่ในการเรียนช่วยเหลือกันดี

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเข้าใจชัดเจน ค่อยๆอธิบายทีละขั้นตอนเพื่อให้นักศึกษา ได้ทำอย่างถูกต้อง











วันอังคารที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2562

สื่อคณิตศาสตร์


สื่อคณิตศาสตร์  (เกมการศึกษา )



 
     เกมการศึกษา เป็นกิจกรรมการเล่นที่ช่วยพัฒนาการด้านต่างๆ ของเด็ก แต่เน้นทางสติปัญญา มีกฎกติกาง่ายๆ เหมาะสำหรับเด็กปฐมวัยและความสนุกสนานจากการเล่น มีกระบวนการในการเล่นจากสื่อตามชนิดของเกมประเภทต่างๆ เพื่อให้เกิดการเรียนรู้และความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งที่เรียน เด็กสามารถเล่นคนเดียวและเล่นเป็นกลุ่มได้

ประเภทของเกมการศึกษา
     เกมจับคู่ แยกประเภท จัดหมวดหมู่ เรียงลำดับ วางภาพต่อปลาย เกมศึกษารายละเอียดของภาพ   ภาพตัดต่อ  เป็นต้น



วันศุกร์ที่ 18 มกราคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2





บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 2

วันศุกร์ที่18 มกราคม  2562

ความรู้ที่ได้รับ

     วันนี้อาจารย์ได้อธิบายรายวิชาการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ให้กับเด็กปฐมวัยและอาจารย์และอาจารย์ได้อธิบายวิธีการทำบล็อกอย่างละเอียด มีองค์ประกอบดังนี้

1. ชื่อและคำอธิบายบล็อก

2.รูปและข้อมูลผู้เรียน

3. ปฏิทินและนาฬิกา

4. เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน ,หน่วยงานสนับสนุน , แนวการสอน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ ,บทความ , สื่อ ( เพลง ,เกม ,นิทาน, แบบฝึกหัด , ของเล่น )

โดยอาจารย์ดูบลอกของแต่ละคน และบอกสื่งที่นำไปปรับปรุงแอธิบายแก้ไขบลอกให้ถูกต้อง

    


   วันนี้ได้อธิบายความหมายของ คณิตศาสตร์ เป็นสิ่งของที่อยู่ใกล้ตัวและรอบตัวเรา และสอนทำมายแมพ  การจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย  มี 3 หัวข้อใหญ่คือ

1.การจัดประสบการณ์

2.คณิตศาสตร์

3.เด็กปฐมวัย




และได้อธิบายที่มาของพัฒนาการมาจาก การทำงานของสมอง

-แรกเกิด- 1 ปี  เด็กจะใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ลงมือกระทำกับวัตถุต่างๆ 

     เก็บข้อมูล -สมอง-ซึมซับ/รับรู้ สอดคล้องและแตกต่างกัน 

     เด็กจะเกิดการเรียนรู้เกิดจากการเปลี่ยนแปลง เพื่อการอยู่รอด

2-5 ปี  เด็กจะสามารถท่องจำไม่หมด แต่สามารถหาข้อมูลได้ จาก

       -หนังสือพัฒนาการของเด็ก

       - หนังสือหลักสูตร

5-7 ปี ประโยค และใช้คำอธิบายได้มากขึ้นกว่าเด็ก2-5 ปี

           วิธีการของเด็ก  ลงมือกระทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง5 ในการลงมือทำ



คำศัพท์

1. development  พัฒนาการ

2. Geometry    เรขาคณิต

3. learning     เรียนรู้

4. Learning by doing      การเรียนรู้โดยการลงมือทำ

5. Early childhood  เด็กปฐมวัย

6. Brain function  การทํางานของสมอง

7. Assimilation  ซึมซับ

8. Calculate     คำนวณ

9.  Mathematics    คณิตศาสตร์

10.  Experienceประสบการณ์


การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ตนเองวอกแวกและสามารถดึงสติกลับมาตั้งใจฟัง

ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนแต่ละคนวันนี้คุยกันเยอะ แต่ยังไม่เข้าใจคำถามแต่ช่วยกันตอบ

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์สอนอย่างตั้งใจ มีการยกตัวอย่างประกอบ

                            และมีคำถามให้นักศึกษาคิด และวิเคาระห์






                 



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 1
วันศุกร์ ที่ 11  มกราคม พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ

วันนี้อาจารย์มอบหมายงานให้กับนักศึกษาสร้างบล็อกมีองค์ประกอบดังนี้
1  ชื่อและคำอธิบายบล็อก
2. รูปและข้อมูลผู้เรียน
3.  ปฏิทินและนาฬิกา
4.  เชื่อมโยง บล็อกอาจารย์ผู้สอน ,หน่วยงานสนับสนุน 
 แนวการสอน , งานวิจัยด้านคณิตศาสตร์ , บทความ , สื่อ ( เพลง ,เกม ,นิทาน, แบบฝึกหัด , ของเล่น )


ตัวอย่างการสอน




ตัวอย่างการสอน



ชื่อวิดีโอ   บูรณาการ สอนวิทย์คณิตด้วยมายากล

สรุปตัวอย่างการสอน

    เป็นการเรียนการสอนที่มีการใช้มายากลในการบูรณาการ วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ มายากล พื้นที่ การวัด รูปร่าง เรขาคณิต ทักษะการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร กิจกรรมต่างๆ การคิดวิเคราะห์นำเข้าสู่บทเรียนหรือเป็นกิจกรรมหลักเพื่อเรียนรู้คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ให้เด็กสนุุกในการเรียนและการทำกิจกกรม


 ที่มา ; โครงการพัฒนาคุณภาพการศึกษาด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ

ดูเพิ่มเติม

            https://www.youtube.com/watch?v=bi1dB_PqJeo




วิจัย


วิจัย   เรื่องการพัฒนาความสามรถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานของคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม
ชื่อผู้เขียน ;  ประจักษ์ อเนกฤทธิ์มงคล
อาจารย์ที่ปรึกษา ;  ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. อัญชลี ทองเอม
สาขาวิชา ; หลักสูตรการสอน
ปีการศึกษา ; 2559

วัตถุประสงค์ของการวิจัย
 1. เพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรม

2. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์

3.เพื่อศึกษาประสิทธิภาพชุดกิจกรรมพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัย
    
ขอบเขตการวิจัย
  กลุ่มเป้าหมาย
        ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือนักเรียนปฐมวัยอายุระหว่าง 5-6 ปี 
จํานวน 15 คนซึ่งกำลังศึกษาอยู่ในชั้นอนุบาลปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนเศรษฐวิทย์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

   เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

 1. แผนการเรียนรู้
 2. ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์ทักษะพื้นฐานทางคณิตศาสตร์
 3. แบบทดสอบหลังใช้ชุดกิจกรรม
       สรุปผลการวิจัยจากการใช้ชุดกิจกรรมเพื่อพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยสามารถสรุปผลได้ดังนี้

1. ผลการพัฒนาความสามารถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ของเด็กระดับปฐมวัยโดยใช้ชุดกิจกรรมพบว่าภาพรวมจากการใช้แบบฝึกชุดกิจกรรมทั้ง 5 ชุดมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่ตำกว่าร้อยละ 80 จำนวน 12 คนคิดเป็นร้อยละ80และมีนักเรียนไม่ผ่านเกณฑ์จำนวน 3 คนคิดเป็นร้อยละ 20

2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์พบว่าภาพรวมจากแบบทดสอบความสามารถในการคิดวิคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์ทั้ง 5 ชุดมีนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 80 จำนวน 15 คนคิดเป็นร้อยละ 100
           
ข้อค้นพบในการวิจัย
 1. รูปแบบการฝึกการพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์พื้นฐานทางคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยที่สามารถพัฒนาการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน รู้จากรูปแบบการฝึกกิจกรรมที่ได้รับจากการทดสอบทำให้เกิดผลการทดสอบแบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่มีคะแนนเกินร้อยละ 80 เมื่อชุดแบบฝึกกิจกรรมอยู่ในเกณฑ์ที่มีคุณสมบัติคือ 83. 20/100
2. แบบชุดฝึกกิจกรรมและแบบทดสอบในงานวิจัยนี้นักเรียนสามารถเรียนรู้ด้วยตนเองและสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ที่ สำคัญคือนักเรียนนำความรู้จากการเรียนรู้ครั้งนี้ไปต่อยอดการวิเคราะห์ในขั้นสูงไปได้

สรุปจากวิจัย
    เรื่องการพัฒนาความสามรถการคิดวิเคราะห์พื้นฐานของคณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยรโดยใช้ชุดกิจกรรม  เป็นการพัฒนาเด็กโดยใช้ชุดกิจกรรมในการเรียนรู้และใช้แบบทดสอบเพื่อที่ทดสอบเด็กจะสามารถพัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ ไปใช้ในการเชื่อมโยงความรู้โดยผ่านชุดกิจกรรมและทำให้เด็กรู้จักที่นำความรู้จากการทำกิจกรรมนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับตนเองโดยอยู่บนพื้นฐานของการพัฒนาสมองของเด็ก

ดูเพิ่มเติมได้ที่


วันพฤหัสบดีที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2562

บทความ

บทความ คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย 

เรื่อง การเตรียมความพร้อมทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ ในเด็กปฐมวัย




ผู้เขียน  แพทย์หญิงอัมพร เบญจพลพิทักษ์

สรุปบทความ

       กรมสุขภาพจิตพบว่า สถานการณ์ปัญหาระดับสติปัญญาเด็กไทย IQ ยังเป็นเรื่องที่น่าห่วงและจำเป็นต้องได้รับการช่วยเหลือจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง  เราควรส่งเสริมและพัฒนา IQ EQ ของเด็กที่จำเป็นโดยการพัฒนาทักษะ 3 ด้าน ได้แก่ ทักษะด้านการคิด การใช้ภาษา และทักษะด้านอารมณ์ ซึ่งเป็นพื้นฐานที่จำเป็นสำหรับชีวิต โดยต้องเริ่มฝึกตั้งแต่วัยทารก การฝึกทักษะด้านการคิด ผู้ปกครองสามารถฝึกทักษะให้แก่เด็กด้วยกระบวนการทางคณิตศาสตร์ (Pre-math skills) โดยผ่านการเล่น หรือกิจกรรมในชีวิตประจำวันที่สนุกสนาน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการเลี้ยงดูเด็กโดยพ่อแม่หรือญาติพี่น้องส่วนทักษะทางคณิตศาสตร์ที่สูงขึ้นนั้นต้องอาศัยทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ในช่วงปฐมวัย