วันเสาร์ที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 13

วันศุกร์ที่  3 เดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ

    วันนี้เป็นการเรียนการครั้งสุดท้ายและอาจารย์ให้นักศึกษาส่งงานเกี่ยวกับสาระทางคณิตศาสตร์และทบทวนจากที่สรุป ว่าสาระที่เด็กปฐมวัยควรที่จะเรียนรู้เพราะเป็นเรื่องราวรอบตัวเด็ก ทั้ง 4สาระการเรียนรู้
    1.เรื่องราวเกี่ยวกับตัวเด็ก
    2. เรื่องราวเกี่ยวกับบุคคลและสถานที่แวดล้อมเด็ก 
    3.ธรรมชาติรอบตัว
    4.สิ่งต่างๆ รอบตัวเด็ก
  และต้องมีความเกี่ยวข้องกับเด็ก
        -สิ่งที่อยู่ที่ใกล้ตัวเด็ก
        -สำคัญต่อตัวเด็ก
        -ส่งผลกระทบต่อตัวเด็ก
 เนิ้อหาสาระควรเหมาะสมกับวัยและพัฒนาการเด็ก การออกแบบกิจกรรมเพื่อจัดประสบการณ์จะต้องสอดคล้องกับวิธีการของเด็ก การเล่น เป็นวิธีการที่ทำให้เด็กเกิดการเรียนรู้





   หลังจากนั้นอาจารย์ให้นักศึกษาทำแผนผังความคิดเรื่องไก่ และสอนการทำแผนผังที่ถูกต้อง และหลังจากทำแผนผังอาจารย์เชื่อมโยงเข้ากับสาระทางคณิตศาสตร์ในแต่ละสาระ ทำให้ได้เข้ามากขึ้น




 อาจารย์ให้นักศึกษาทำแผ่นพับเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครองทางคณิตศาสตร์ โดยมีส่วนประกอบดังนี้
ส่วนที่1 ตราโรงเรียน หน่วย... ชื่อ-นามสกุล
ส่วนที่ 2 เรียนท่านผู้ปกครอง...
              สิงที่ต้องการให้ผู้ปกครองช่วยเหลือ
ส่วนที่ 3 ต้องการให้ผู้ปกครองคุยกับเด็ก สนทนา  วาดรูป 

แผ่นพับเกี่ยวกับการให้ความรู้ผู้ปกครอง                                      ทางคณิตศาสตร์
                       หน่วย ต้นไม้ น่ารู้



                                          
  

คำศัพท์

1.Mind mapแผนผังความคิด

2. Content เนื้อหา

3.Parent  ผู้ปกครอง

4.Brochures แผ่นพับ

5.Design    ออกแบบ

6.Method  วิธีการ

7.Assimilation  ซึมซับ

8.Development  พัฒนาการ 

9.Learning by doing      การเรียนรู้โดยการลงมือทำ

10.connect  เชื่อมโยง


การประเมินผล


ประเมินตนเอง   :  ตนเองได้รู้จักการวางแผนในการทำงานมากขึ้น และเข้าใจสาระทางคณิตศาสตร์ปฐมวัยมากขึ้นและการทำแผนผังความคิด


ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในการทำงานของตนเอง               


ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายได้อย่างชัดเจน พร้อมยกตัวอย่างให้เห็น และได้ให้นักศึกษาเต็มที่ในการทำงานและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น







บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 12

วันศุกร์ที่ 20  เมษายน พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ
   
  วันนี้การเรียนการสอนอาจารย์นัดเรียนด้วยกัน 2 กลุ่ม และอาจารย์ให้นักศึกษาสรุปกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย โดยออกแบบแผนผังความคิดหรือออกแบบที่สามารถให้ตนเองเข้าใจในสิ่งที่เขียน


ความสำคัญของคณิตศาสตร์คณิตศาสตร์
มีความสำคัญยิ่งต่อการพัฒนาความคิดทำให้มนุษย์มีความคิดอย่างมีเหตุผลเป็นระบบมีแบบแผนตลอดจนการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และสามารถวิเคราะห์ปัญหาหรือสถานการณ์ได้อย่างรอบคอบช่วยให้คาดการณ์วางแผนแก้ ปัญหาและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสม   
       เด็กปฐมวัยเป็นวัยเริ่มต้นแห่งการเรียนรู้มีความอยากรู้อยากเห็นช่างสังเกตชอบเล่นและสำรวจสิ่งต่างๆรอบตัวคณิตศาสตร์สามารถพัฒนาเสริมสร้างให้เด็กมีความรู้ความเข้าใจธรรมชาติรอบตัวและสิ่งต่างๆรอบ ตัวการที่เด็กมีความรู้ความเข้าใจมีทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ไม่เพียงส่งผลให้เด็กประสบความสําเร็จในการเรียยนรู้ทางคณิตศาสตร์เท่านั้น แต่จะส่งผลต่อการเรียนรู้ในศาสตร์อื่น ๆ คณิตศาสตร์จึงมีบทบาทสำคัญทั้งในการเรียนรู้และมีประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิต
สาระและมาตรฐานการเรียนรู้

         มาตรฐานการเรียนรู้   จึงเป็นเป้าหมายสำคัญในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับเด็ก รวมทั้งเป็นแนวทางในการกำกับ ตรวจสอบ และประเมินผล

สาระที่ 1 จำนวนและการดำเนินการ
     มาตรฐาน ค.ป .1. 1: เข้าใจถึงความหลากหลายของการแสดงจำนวนและการใช้จำนวนในชีวิตจริง

สาระที่ 2: การวัด
    มาตรฐาน ค.ป . 2. 1: ความเข้าใจพื้นฐานเกี่ยวกับการวัดความยาว น้ำหนัก ปริมาตร เงิน และเวลา

สาระที่ 3: เรขาคณิต  
    มาตรฐาน ค.ป.  3. 1: รู้จักใช้คำในการบอกตำแหน่งทิศทาง และระยะทาง 
    มาตรฐาน ค.ป . 3. 2: รู้จักรูปเรขาคณิต และเข้าใจการเปลี่ยนแปลงรูปเรขาคณิตที่เกิดจากการจัด                                               กระทำ
สาระที่ 4: พีชคณิต
     มาตรฐาน ค.ป . 4. 1: เข้าใจรูปแบบและความสัมพันธ์

สาระที่ 5: การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น
   มาตรฐาน ค.ป .ป  5. 1: รวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวกับตนเองและสิ่งแวดล้อมและนำเสนอ

สาระที่6: ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์

การจัดประสบการณ์การเรียนรู้
        การจัดประสบการณ์การเรียนรู้คณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยอายุ 3-5 ปีควรจัดรูปแบบกิจกรรมการเรียนรู้ แบบบูรณาการผ่านการเล่นเพื่อให้เด็กเรียนรู้จากประสบการณ์ตรงเกิดความรู้สึก  เข้าใจมีทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์และมีเจตคติที่ดีต่อคณิตศาสตร์ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้าที่รับผิดชอบเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กโดยคำนึงถึงความเหมาะสมและความสอดคล้องกับวุฒิภาวะของเด็ก ๆ สามารถดำเนินการตามแนวทางและแนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้
      1. สร้างเสริมความสนใจในการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามธรรมชาติของเด็กและ  การสร้างความเข้าใจทางคณิตศาสตร์ผ่านประสบการณ์ในชีวิตประจำวัน 
      2. สร้างประสบการณ์และความเข้าใจทางคณิตศาสตร์โดยเชื่อมโยงจากพื้นฐานทา  ครอบครัวภาษาวัฒนธรรมและชุมชนโดยเน้นการจัดกลุ่มรายย่อยและในรูปแบบที่ไม่เป็นทางการผ่านการเล่นการสำรวจและการลงมือปฏิบัติจริง 
       3. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ต้องให้ความสำคัญกับการส่งเสริมพัฒนาการ  ด้านจิตใจอารมณ์และสติปัญญาไปพร้อม ๆ กัน 
        4. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์เร่งปฏิกิริยาแก้ปัญหาและการให้เหตุผลรวมทั้ง  การสื่อสารเชื่อมโยงแนวความคิดที่หลากหลายทางคณิตศาสตร์และการคิดสร้างสรรค์ 
        5. หลักสูตรและการจัดประสบการณ์ต้องเชื่อมโยงความสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจอย่างเป็นทางการ  เตรียมความพร้อมก่อนที่จะเรียนรู้ในขั้นตอนสุดท้ายที่ยากขึ้นไป 
        6. เตรียมความพร้อมให้เด็กได้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องอย่างลึก แน่นในแนวคิดหลักการและสาระ สำคัญทางคณิตศาสตร์ 
         7. บูรณาการคณิตศาสตร์กิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆและสอดแทรกกิจกรรมต่างๆในการเรียนรู้คณิตศาสตร์
การวัดและประเมินผล
 
 การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์ของเด็กปฐมวัยอายุ 3 ถึง 5 ปีเพื่อพัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กเป็นรายบุคคล  ผลเป็นกระบวนการต่อเนื่องและเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมปกติที่จัดขึ้นให้เด็กในแต่ละวันผลการประเมินจะเป็นข้อมูลที่ช่วยให้ครูผู้สอนหรือผู้ที่มีหน้ารับผิดชอบอบรมเลี้ยงดูและพัฒนาเด็กนำไปวางแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กแต่ละคนให้ได้รับการส่งเสริมและพัฒนาตามมาตรฐานการเรียนรู้มากกว่าการตัดสินว่าผ่านหรือพร้อม

การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ควรยึดหลัก
 
      1. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้อย่างต่อเนื่องและเป็นขั้นตอนการเรียนการสอน
      2. การวัดและประเมินผลที่สอดคล้องกับจุดประสงค์การศึกษาความรู้คณิตศาสตร์ขั้นพื้นฐาน
      3. การวัดและประเมินผลการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกระบวนการทางคณิตศาสตร์มีความสำคัญกับการวัดความเข้าใจในเนื้อหาสาระ
      4. การวัดและประเมิน  ผลต้องนำไปสู่ข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับตัวเด็กรอบด้านโดยใช้เครื่องมือและวิธีการที่หลากหลายเช่นการสังเกตการสนทนาการบันทึกพฤติกรรม
      5. การวัดและประเมินผลต้องเป็นกระบวนการที่ส่งเสริมให้เด็กมีความกระตือรือร้นในการปรับปรุงและพัฒนาความสามารถทางคณิตศาสตร์

      จากการที่ได้ศึกษากรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัย ทำให้เราเรียนรู้เกี่ยวกับสาระและมาตรฐานการเรียนรู้ ในแต่ละสาระ เข้าใจทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ที่มีสำคัญต่อเด็กปฐมวัย เพราะเด็กเป็นเส้นทางที่ครูจะปูพื้นฐานแห่งการเรียนรู้ในแต่ละด้านๆเพื่อที่จะเขาโตออกมาเรียนรู้และปรับตัวกับสิ่งต่างๆ





                                                         
  ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

คำศัพท์

1.Geometry     เรขาคณิต

2. Algebra  พีชคณิต

3.Skills   ทักษะ

4.Relationship ความสัมพันธ์

5.Number    จำนวน

6.Evaluation  ประเมินผล

7.Operation  การทำงาน

8.Investigate  ตรวจสอบ

9.Direct   กำกับ

10.Information  ข้อมูลสารสนเทศ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :  ตนเองได้รู้จักการวางแผนในการทำงานมากขึ้น  และเข้าใจกรอบมาตรฐานคณิตศาสตร์ปฐมวัยมากขึ้นในแต่ละสาระว่ามีส่วนประกอบ อะไรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคณิตศาสตร์กับเด็กปฐมวัย

ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในการทำงานของตนเอง               

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาเต็มที่ในการทำงานและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็น





บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 11

วันศุกร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2562

ความรู้ที่ได้รับ

   วันนี้อาจารย์ได้ทบทวนเกี่ยวกับองค์ประกอบบล็อกว่ามีอะไรบ้าง และให้นักศึกษาแต่ละคนกลับไปดู
บลอกของตัวเองว่าครบองค์ประองค์และทบทวนเนื้อหาเกี่ยวกับ มคอ. ( กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมการศึกษา) เพื่อที่จะให้ตนเองเข้าใจมากขึ้นในในมคอ.สอนเกี่ยวกับอะไร มีเนื้อหาสาระอะไรบ้างที่เกี่ยวกับการจัดประสบการณ์คณิตศาสตร์ และเราต้องเข้าใจและเรียนรู้เพราะเป็นสิ่งสำคัญ
หลังจากนี้อจารย์ก็ได้อวยพรคนที่เดินทางกลับต่างจังหวัดในช่วงสงกรานต์




ภาพกิจกรรมในการเรียนการสอน



คำศัพท์

1.Element                                  องค์ประกอบ

2.Learning                                 เรียนรู้

3.Analyse                                  วิเคราะห์

4.Academy                             สถานศึกษา

5.Cgratulatory                          อวยพร

6.Understand                          เข้าใจ

7.standard                              มาตรฐาน

8.Curriculum.                        หลักสูตร

9.Adoption                             การนำไปใช้I

10.Increase                              เพิ่มเติม




การประเมิน 

ประเมินตนเอง : เราควรที่จะศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมให้มากขึ้นและกระตือรือร้นในการเรียน เตรียมพร้อมในการเรียน

ประเมินเพื่อน : เพื่อนๆแต่ละคนตั้งใจฟังอาจารย์และซักถามอาจารย์ระหว่างที่เรียน

ประเมินอาจารย์ : อาจารย์ให้คำปรึกษาที่ดีในหลายเรื่อง ไม่ว่าเรื่องเรียนหรือเรื่องอื่นๆทำให้นักศึกษากล้าที่ปรึกษาและข้อคำแนะนำ


บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10




บันทึกการเรียน ครั้งที่ 10

วันพุธ ที่  22  มีนาคม 2562   พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ
   
   วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อคณิตศาสตร์ กลุ่มของดิฉัน ทำสื่อกราฟแท่ง อาจารย์ได้ให้คำแนะนำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับสื่อที่ทำ และสื่อกราฟแท่งสามารถใช้ในการสอนได้อย่างไรบ้าง  และแนะนำวิธีการแก้ไขเพิ่มเติมเพื่อให้ชิ้นงานออกมาดีขึ้น






ภาพกิจกรรมการเรียนการสอน

คำศัพท์

1.Graph                      กราฟ

2 Modify                  แก้ไข

3.Bar graph               กราฟแท่ง

4.Mistake                 ผิดพลาด

5. Accept                   ยอมรับ 

6.Deliverables           ชิ้นงานที่สร้างขึ้น

7.Creative thinking   ความคิดสร้างสรรค์

8.Instruction media     สื่อการสอน

9.Various    หลากหลาย

10.Present                   นำเสนอ



การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ทำให้เราเรียนรู้การทำงานกลุ่ม ช่วยเหลื่อแบ่งปัน    ยอมรับความคิดซึ่งกันและกันมากขึ้น


ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในช่วยกันตอบคำถาม


ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายให้คำแนะนำในการทำสื่อได้อย่างชัดเจน มีการสอนที่ชัดเจน เข้าใจได้ง่าย



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 9

วันพุธ ที่  15 มีนาคม 2562   พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ
     
       อาจารย์ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มเริ่มทำสื่อคณิตศาสตร์ของแต่ละกลุ่มและกลุ่มไหนยังไม่ได้อุปกรณ์ครบให้ติดต่อกับอาจารย์เพื่อที่จะรับอุปกรณ์ในการทำสื่อ และนำไปทำสื่อคณิตศาสตร์เพื่อที่จะส่งในอาทิตย์ถัดไป





  

1.แต่ละกลุ่มอาจารย์กำหนดสื่อคณิตศาสตร์ 
กลุ่มดิฉัน กราฟแท่ง มีอุปกรณ์ในการทำดังนี้ 
วัสดุอุปกรณ์ 
1.ฟิวเจอร์บอร์ด
2.กระดาษเทา ขาว
3.กระดาษ 100 ปอร์น
4.กาว
5.กรรไกร
6.สติกเกอร์ใส
7.ตีนตุ๊กแก
8.คัตเตอร์
ขั้นตอนของสื่อกราฟแท่ง
2.นำฟิวเจอร์บอร์ดที่เตรียมไว้ มาวัดเส้นแล้วกำหนดตัวสถิติเส้นกราฟเป็นตัวเลขเพื่อเด็กเห็นได้ชัดขึ้น
3.นำสติกเกอร์แบบเส้นและนำตัวเลขมาแปะลงบนเส้นที่เราวัดไว้
4.ทำสรุปเกี่ยวกับแผ่นกราฟ ที่เราได้จัดทำ
5.เคลือบสติกเกอร์ใสลงบนแผ่นกราฟ แล้วเจาะรูเส้นล่างสุดและเส้นบนสุดเพื่อให้ริบบิ้นผ่านได้และสามารถรูดไปมา ด้วยใช้ริบบิ้นกับเชือก
6.นำตีนตุ๊กแกมาแปะตำแหน่งที่เรากำหนดเปลี่ยนหน่วยการเรียนรู้ 


แบบประเมิน 
แบบประเมินตนเอง ได้รู้จักหน้าที่ในการทำงานของตนเอง และการวางแผนในการทำงาน

แบบประเมินเพื่อน เพื่อนในกลุ่มช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้เป็นอย่างดี  แบ่งหน้าที่การทำงานชัดเจน

แบบประเมินอาจารย์  อาจารย์ให้ปรึกษาวิธีการทำสื่อและ ช่วยเหลือในการหาอุปกรณ์ในการทำให้กับนักศึกษา



วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่  13 มีนาคม 2562   พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ

     จากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ได้นักศึกษาได้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วก็ให้เขียนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง  และอาจารย์ได้นัดศึกษามาประชุม และจัดหาอุปกรณ์ในการทำให้ และแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อและอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มก็ได้มารับอุปกรณ์ที่กลุ่มของตัวเองต้องใช้ผลิตสื่อ แล้วนำกลับไปทำ

อาจารย์ก็นัดวันส่งสื่อ

         กลุ่มเรียนของดิฉันมีนัดส่งสื่อ ในวันที่ 22 มีนาคม 2562





และอาจารย์ได้พูดคุย อธิบายเพิ่มเติมสำหรับคนไหนไม่เข้าใจ และชี้แจ้งเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ขาด ให้เขียนลงในกระดาษ แล้วอาจารย์จะจัดหาอุปกรณ์ในการสื่อให้กับนักศึกษา

คำศัพท์ 

1.Equipment   อุปกรณ์

2.Future board   ฟิวเจอร์บอร์ด

3.Colour paper   กระดาษสี

4.Rope เชือก

5.Ribbon   ริบบิ้น

6.Sticker tape  เทปกาว

7.Scissors  กรรไกร

8.Cutter  คัตเตอร์

9.Duct tape   กระดาษกาวหนังไก่

10.Glue  กาว





วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 8  มีนาคม  พ.ศ.2562
ความรู้ที่ได้รับ
   
     วันนี้ก่อนเริ่มและทำกิจกรรมในห้องเรียน อาจารย์ได้มีการทบทวนเรียนที่ได้เรียนมา ได้ให้นักศึกษาช่วยกันตอบและสรุปที่นักศึกษาเข้าใจ
 
  - การลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติการลงมือกระทำด้วยตนเอง หรือ เรียกว่า วิธีการของเด็ก
     
-เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้  

-การเล่น คือ วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด

-การเล่น ความสัมพันธ์ กับการทำงานของสมอง



จากนั้นอาจารย์ก็ได้ทบทวนเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจต์
     

      ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
 เฟียเจท์ ตามลำดับขั้นตอน เป็นพัฒนาการ

ทฤษฎีการเรียนรู้
    พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่

2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ

3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้

4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง


กิจกรรมที่ 2
     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีมาให้เลือก
แต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้
กลุ่มที่1 เรื่องตัวเลข
กลุ่มที่2 จำนวน
กลุ่มที่3 การวัด
กลุ่มที่4 กราฟแท่ง
กลุ่มที่5 กราฟเส้น
กลุ่มที่6 ความสัมพันธ์สองแกน
กลุ่มที่7 คานดีดจากไม้ไอติม
กลุ่มที่8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ


คำศัพท์
1.    Sensori     ประสาทรับรู้
2. Concrete Operation     ปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
3.  Formal Operational        ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
4.Opposition   ตรงกันข้าม
5.Assimilationซึมซับ
6. Accommodation  ปรับและจัดระบบ
7. Equilibration  ความสมดุล
8.Subject สาระ
9.Behavior  พฤติกรรม
10. Development   พัฒนาการ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ได้รู้จักในการวางแผน และรู้จักในการแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อทางคณิตศาสตร์

ประเมินเพื่อน     :  ทุกคนตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเข้าใจชัดเจน  และแบ่งกันให้นักศึกษาในการทำสื่อที่เข้าใจ