วันพุธที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 8

วันพุธ ที่  13 มีนาคม 2562   พ.ศ.2562

ความรู้ที่ได้รับ

     จากสัปดาห์ที่แล้วที่อาจารย์ได้นักศึกษาได้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย แล้วก็ให้เขียนอุปกรณ์ที่ต้องใช้ว่าต้องใช้อะไรบ้าง  และอาจารย์ได้นัดศึกษามาประชุม และจัดหาอุปกรณ์ในการทำให้ และแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อและอาจารย์ให้แต่ละกลุ่มก็ได้มารับอุปกรณ์ที่กลุ่มของตัวเองต้องใช้ผลิตสื่อ แล้วนำกลับไปทำ

อาจารย์ก็นัดวันส่งสื่อ

         กลุ่มเรียนของดิฉันมีนัดส่งสื่อ ในวันที่ 22 มีนาคม 2562





และอาจารย์ได้พูดคุย อธิบายเพิ่มเติมสำหรับคนไหนไม่เข้าใจ และชี้แจ้งเกี่ยวกับอุปกรณ์ที่ขาด ให้เขียนลงในกระดาษ แล้วอาจารย์จะจัดหาอุปกรณ์ในการสื่อให้กับนักศึกษา

คำศัพท์ 

1.Equipment   อุปกรณ์

2.Future board   ฟิวเจอร์บอร์ด

3.Colour paper   กระดาษสี

4.Rope เชือก

5.Ribbon   ริบบิ้น

6.Sticker tape  เทปกาว

7.Scissors  กรรไกร

8.Cutter  คัตเตอร์

9.Duct tape   กระดาษกาวหนังไก่

10.Glue  กาว





วันจันทร์ที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2562

บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7



บันทึกการเรียน ครั้งที่ 7
วันศุกร์ ที่ 8  มีนาคม  พ.ศ.2562
ความรู้ที่ได้รับ
   
     วันนี้ก่อนเริ่มและทำกิจกรรมในห้องเรียน อาจารย์ได้มีการทบทวนเรียนที่ได้เรียนมา ได้ให้นักศึกษาช่วยกันตอบและสรุปที่นักศึกษาเข้าใจ
 
  - การลงมือทำโดยใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการปฎิบัติการลงมือกระทำด้วยตนเอง หรือ เรียกว่า วิธีการของเด็ก
     
-เมื่อเด็กเกิดการเรียนรู้จะทำให้เด็กเกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของเด็ก แต่ถ้าเด็กไม่มีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเด็กแค่ รับรู้ ไม่ใช่เกิดการเรียนรู้  

-การเล่น คือ วิธีการที่ทำให้เกิดการเรียนรู้และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมเพื่อการอยู่รอด

-การเล่น ความสัมพันธ์ กับการทำงานของสมอง



จากนั้นอาจารย์ก็ได้ทบทวนเกี่ยวกับทฤษฎีของเพียเจต์
     

      ทฤษฎีของเพียเจต์ตั้งอยู่บนรากฐานของทั้งองค์ประกอบที่เป็นพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม เขาอธิบายว่า การเรียนรู้ของเด็กเป็นไปตามพัฒนาการทางสติปัญญาซึ่งจะมีพัฒนาการไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น พัฒนาการเป็นสิ่งที่เป็นไปตามธรรมชาติไม่ควรที่จะเร่งเด็กให้ข้ามจากพัฒนาการจากขั้นหนึ่งไปสู่อีกขั้นหนึ่ง เพราะจะทำให้เกิดผลเสียแก่เด็ก แต่การจัดประสบการณ์ส่งเสริมพัฒนาการของเด็กในช่วงที่เด็กกำลังจะพัฒนาไปสู่ขั้นที่สูงกว่าสามารถช่วยให้เด็กพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว
 เฟียเจท์ ตามลำดับขั้นตอน เป็นพัฒนาการ

ทฤษฎีการเรียนรู้
    พัฒนาการทางสติปัญญาของบุคคลเป็นไปตามวัยต่างๆเป็นลำดับขั้น ดังนี้
1.   ขั้นประสาทรับรู้และการเคลื่อนไหว (Sensori-Motor Stage)  เริ่มตั้งแต่แรกเกิดจนถึง 2 ปี พฤติกรรมของเด็กในวัยนี้ขึ้นอยู่กับการเคลื่อนไหวเป็นส่วนใหญ่

2.   ขั้นก่อนปฏิบัติการคิด (Preoperational Stage)  เริ่มตั้งแต่อายุ 2-7 ปี แบ่งออกเป็นขั้นย่อยอีก 2 ขั้น คือ
                - ขั้นก่อนเกิดสังกัป (Preconceptual Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็กอายุ 2-4 ปี เป็นช่วงที่เด็กเริ่มมีเหตุผลเบื้องต้น สามารถจะโยงความสัมพันธ์ระหว่างเหตุการณ์2เหตุการณ์ หรือมากกว่ามาเป็นเหตุผล เกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน แต่เหตุผลของเด็กวัยนี้ยังมีขอบเขตจำกัดอยู่
                 - ขั้นการคิดแบบญาณหยั่งรู้ นึกออกเองโดยไม่ใช้เหตุผล (Intuitive Thought) เป็นขั้นพัฒนาการของเด็ก อายุ 4-7 ปี ขั้นนี้เด็กจะเกิดความคิดรวบยอดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ รวมตัวดีขึ้น รู้จักแยกประเภทและแยกชิ้นส่วนของ

3.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม (Concrete Operation Stage)  เริ่มจากอายุ 7-11 ปี พัฒนาการทางด้านสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้สามารถสร้างกฎเกณฑ์และตั้งเกณฑ์ในการแบ่งสิ่งแวดล้อมออกเป็นหมวดหมู่ได้

4.   ขั้นปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม (Formal Operational Stage)   เริ่มจากอายุ 11-15 ปี ในขั้นนี้พัฒนาการทางสติปัญญาและความคิดของเด็กวัยนี้เป็นขั้นสุดยอด คือเด็กในวัยนี้จะเริ่มคิดแบบผู้ใหญ่ ความคิดแบบเด็กจะสิ้นสุดลง


กิจกรรมที่ 2
     อาจารย์ให้แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3  คน แต่จะมีหนึ่งกลุ่มที่จะได้อยู่ 2 คน กิจกรรมนี้อาจารย์ให้เลือกทำสื่อการสอนคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย โดยอาจารย์มีมาให้เลือก
แต่ละกลุ่มเลือกได้ดังนี้
กลุ่มที่1 เรื่องตัวเลข
กลุ่มที่2 จำนวน
กลุ่มที่3 การวัด
กลุ่มที่4 กราฟแท่ง
กลุ่มที่5 กราฟเส้น
กลุ่มที่6 ความสัมพันธ์สองแกน
กลุ่มที่7 คานดีดจากไม้ไอติม
กลุ่มที่8 ร้อยลูกปัดฝาขวด
กลุ่มที่ 9 บวกเลขจากภาพ


คำศัพท์
1.    Sensori     ประสาทรับรู้
2. Concrete Operation     ปฏิบัติการคิดด้านรูปธรรม
3.  Formal Operational        ปฏิบัติการคิดด้วยนามธรรม
4.Opposition   ตรงกันข้าม
5.Assimilationซึมซับ
6. Accommodation  ปรับและจัดระบบ
7. Equilibration  ความสมดุล
8.Subject สาระ
9.Behavior  พฤติกรรม
10. Development   พัฒนาการ

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   : ได้รู้จักในการวางแผน และรู้จักในการแบ่งหน้าที่ในการทำสื่อทางคณิตศาสตร์

ประเมินเพื่อน     :  ทุกคนตั้งใจ และช่วยกันตอบคำถาม

ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์ตั้งใจสอนและอธิบายเข้าใจชัดเจน  และแบ่งกันให้นักศึกษาในการทำสื่อที่เข้าใจ
                                 


บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6




บันทึกการเรียนรู้ครั้งที่ 6

วันศุกร์ที่ 22เดือนกุมภาพันธ์ 2562

ความรู้ที่ได้รับ
กิจกรรมที่1

      วันนี้อาจารย์ให้นักศึกษานำเสนองานที่อาจารย์ได้มอบหมายเกี่ยวกับ การจัดประสบการณ์ทางคณิตศาสตร์ โดยแต่ละคน อาจารย์ก็จะแนะนำ และเสริมสิ่งที่ควรแก้ไขปรับปรุงสิ่งที่ขาด  ตามหัวข้อที่กำหนดให้เพื่อที่จะทำให้ศึกษาเข้าใจมากยิ่งขี้น

1.    กิจกรรม   คือ กิจกรรมที่นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอน
2.    สื่อ คือ อุปกรณ์ต่างๆที่อยู่ในเทคนิค เช่น นิทาน เพลง การ์ตูน ของเล่น
3. เทคนิค คือ สิ่งที่ทำให้กิจกรรมเกิดขึ้นได้อย่างง่าย เป็นกระบวนการในกิจกรรมที่จะมีการนำเอา เกมการศึกษา นิทาน มาช่วยในการจัดการเรียนการสอน เพื่อให้เด็กมีความสนใจ และสนุกมากขึ้น


กิจกรรมที่ 2
     อาจารย์ให้แต่ละคนตัดกระดาษเท่า ขาว ขนาด 3X3  จำนวนหนึ่งแผ่น จากนั้นให้นักศึกษาออกแบบ รูปร่างทางคณิตศาสตร์ที่นักศึกษาเข้าใจ ด้วยการปั้นดินนำมัน เป็นรูปร่างรูปทรง  วงกลม สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยมจตุรัส สี่เหลี่ยมผืนผ้า ห้าเหลี่ยม เป็นต้น เป็นรูป 2 มิติ  แล้ววางบนกระดาษ
   ขั้นตอนต่อมา ให้นักศึกษาปั้นเป็น 3มิติโดยใช้ไม้จิ้มฟัน ในการทำฐานหรือออกแบบ ให้ได้3มิติ และอาจารย์อธิบาย






กิจกรรมที่ 3
      อาจารย์ให้เตรียมกระดาษขนาด กว้าง 1 นิ้ว ยาว 3 นิ้ว  จากนั้นก็ให้ทุกคนออกแบบป้ายชื่อของตัวเอง ตกแต่งให้สวยงาม   อาจารย์ได้ตั้งคำถามโดยให้นักศึกษาตอบ ป้ายชื่อเราสามารถนำมาทำการเรียนการสอนให้เด็กเข้าใจได้มากขึ้น เช่น ป้ายชื่อสามารถทำให้เราได้รู้ว่าการให้เด็กๆได้เปรียบเทียบจำนวนว่าเด็กผู้หญิงหรือผู้ชายมาอะไรที่เยอะกว่ากัน  เด็กๆไม่มาเรียนหรือขาดเรียนกี่คน  ก็จะเป็นในเรื่องของการบวก ลบ เลข และการนับจำนวน ทำให้เด็กได้เรียนรู้จากสิ่งที่รอบตัวเด็ก




คำศัพท์
1.Design  ออกแบบ
2.Toothpick    ไม้จิ้มฟัน
3.circle   สามเหลี่ยม
4.Cylinder  ทรงกระบอก
5.Rectangle   สี่เหลี่ยมผืนผ้า
6.Hexagon หกเหลี่ยม
7.Square  สี่เหลี่ยมจัตุรัส
8.Dimension  มิติ
9.Base ฐาน
10. Height   ตวามสูง

การประเมินผล

ประเมินตนเอง   :  สนุกในการคิด การตอบคำถาม

ประเมินเพื่อน     :  เพื่อนทุกคนกระตือรือร้นในการทำงานและการแบ่งกลุ่มในการทำงาน และหน้าที่ของตนเอง
                               
ประเมินอาจารย์ :  อาจารย์อธิบายหัวข้อได้อย่างชัดเจน เข้าใจ กระชับและให้คำแนะนำที่ดี